คลินิกแสงตะวัน งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โทร 035 - 378032 ต่อ 204,6255

+ ความเป็นมา

หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศสงครามกับยาเสพติดตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ปัญหาการดื่มสุราก็เข้ามาแทนที่ พบผู้มีปัญหาการดื่มสุราเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2547-2550 มีจำนวน 98, 112, 130 และ 330 คน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบอุบัติการณ์ผู้ป่วยถอนพิษสุราขณะพักรักษาโรคทางกายในโรงพยาบาลระดับรุนแรง เช่น มีอาการสับสน หู่แว่ว หวาดระแวง ชัก เป็นต้น





ดังนั้นจึงได้เริ่มมีการคัดกรองและป้องกันปัญหาจากอาการขาดสุราขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ในส่วนของคลินิกบำบัดยาเสพติดก็ได้พัฒนาโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยสุรามาอย่างต่อเนื่อง จนสุดท้ายได้พัฒนามาเป็นโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจและพฤติกรรมบำบัดทางปัญญาเพื่อการลด ละ เลิกสุรา พร้อมเปิดให้บริการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสุราแบบผู้ป่วยนอกในปัจจุบัน

+ เป้าหมาย

1. ผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองปัญหาจากการดื่มสุรา
ในงานประจำ
2. ผู้ประสบปัญหาจากสุราได้รับการบำบัดรักษาเบื้องต้น
อย่างเหมาะสม
3. ช่วยให้ผู้ป่วยเสพติดสุราได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

+ ขั้นตอนการบำบัดฟื้นฟู

+ ขั้นตอนการบำบัดฟื้นฟู

++ โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจและพฤติกรรมบำบัดทางปัญญา ประกอบด้วย

1. การให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice:BA)

- เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มสุรา จนเกิดความตระหนักและมีแรงจูงใจในการที่จะลด ละ เลิก

2. การช่วยเหลือแบบสั้น (Brief Intervention:BI)

- เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักและมีแรงจูงใจในการที่จะลด ละ เลิกสุรา สามารถวางแผนลด ละ เลิก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มไปในทางที่ดี

3. การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Enhancement Therapy : MET )
- เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยการช่วยให้ผู้ป่วยได้สำรวจ ค้นหา และแก้ไขความลังเลใจของตนเอง สร้างความรู้สึกให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มสุราได้ ด้วยท่าทีที่แสดงความเข้าใจเห็นใจสอดคล้องกับความพร้อมของผู้ป่วย

4. การบำบัดเพื่อปรับพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive Behavioral Therapy: CBT)
- เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวไว้วางใจ และให้ความร่วมมือ จนตระหนักถึงปัญหา และเกิดแรงจูงใจในการลด ละ เลิก พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

5. การติดตามและการส่งต่อ
- เพื่อการป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำในระยะยาว

+ ผลการบำบัดฟื้นฟู

ตารางวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์

ตารางวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์

แผนภูมิแสดงประสิทธิผลของการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยสุรา

แผนภูมิแสดงประสิทธิผลของการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยสุรา

แผนภูมิเปรียบเทียบผลของการบำบัดผู้ป่วยติดสุรา

แผนภูมิเปรียบเทียบผลของการบำบัดผู้ป่วยติดสุรา

+ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเลิกดื่มสุราของผู้ป่วย

1. การขาดแรงผลักดันและแรงจูงใจ
2. สังคมรอบข้างขัดขวางการเลิกดื่มสุรา
3. ครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ
เนื่องจากขาดความเข้าใจในเรื่องสุราและมีอคติกับผู้ดื่มสุรา

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ
1. การสรรหาบุคคลในครอบครัวในการมีส่วนร่วมในการบำบัด ที่เหมาะสม

2. ควรแยกกิจกรรมที่ดำเนินการกับญาติออกจากการรับรู้ของผู้ป่วย ในวันแรกของกิจกรรมของญาติ

3. ควรมีการเตรียมชุมชนเพื่อรองรับการกลับเข้าสู่ชุมชนของผู้เข้ารับการบำบัด

+ ภาพชุดท่าฝึก ไท่จี๋ชี่กง 6 ท่า

.

1. ท่าปรับลมปราณ

1. ท่าปรับลมปราณ

2. ท่ายืดอกขยายทรวง

2. ท่ายืดอกขยายทรวง

3. อินทรีทะยานฟ้า

3. อินทรีทะยานฟ้า

4. ลมปราณซ่านกายา

4. ลมปราณซ่านกายา

5. ท่าเชิญชิมชา

5. ท่าเชิญชิมชา

6. ปทุมมาขยายกลีบ

6.  ปทุมมาขยายกลีบ
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ